×
แชทกับหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย
ยินดีให้บริการค่ะ....
 
องค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
ขัวก่าย
อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
check_circle ประวัติตำบลขัวก่าย
ประวัติตำบลขัวก่าย
ตำบลขัวก่าย อยู่ทางทิศตะวันออกของ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยชาวบ้านขัวก่าย อพยพย้ายมาจากอุบลราชธานี โดยมีนายโพธิ์ศาราช ได้นำพรรคพวกหนีความอดหยากแห้งแล้ง อพยพขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งถึงหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่ง ตามประวัติเล่าว่าหมู่บ้านร้างแห่งนี้ เป็นเมืองเก่าชื่อเมืองปัญจา ซึ่งมีเจ้าเมืองชื่อว่า หลวงวิเศษ ได้อพยพชาวเมืองปัญจาหนีศึกฮ้อไปอยู่แถวบ้านกล้วย,บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ก็เลยทิ้งไว้เป็นเมืองร้าง บังเอิญนายโพธิ์กับพวกมาพบเข้า เห็นว่าหมู่บ้านร้างเหล่านี้เป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงหยุดตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยน้ำในหน้าฝน ไม่มีทางสัญจรไปมา จึงพร้อมใจกันสร้างสะพานคนเดินข้ามทุ่งหนองสิม ทอดข้ามไปสู่เนินโคกหนองสิม สะพานคนเดินนี้ภาษาอิสานเรียกว่า“ ขัว ” ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า “ บ้านขัวก่าย ” ตำบลขัวก่ายยกฐานะเป็นตำบลเมื่อปี พ.ศ.2425 กำนันคนแรก คือ พระศรีวรราช แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่ หมูที่ 1 บ้านขัวก่าย หมู่ที่ 2 บ้านโคกผักหวาน หมู่ที่ 3 บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 4 บ้านขาม หมู่ที่ 5 บ้านวังเวิน หมู่ที่ 6 บ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ 7 บ้านหนองนาแซง หมู่ที่ 8 บ้านโคกถาวร หมู่ที่ 9 บ้านส้งเปลือย หมู่ที่ 10 บ้านขัวก่ายสอง หมู่ที่ 11 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 12 บ้านส้งเปือยสอง หมู่ที่ 13 บ้านส้งเปือยสาม ประเพณี มีประเพณีเหมือนชาวอิสานทั่วไป ได้แก่ บุญขึ้นปีใหม่ บุญสงกรานต์ บุญประทายข้าวเปลือก บุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญข้าวประดับดิน บุญออกพรรษา บุญกฐิน ซึ่งยังปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ของชุมชน ชาวบ้านขัวก่าย จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เด่นๆ ได้แก่ กลุ่มทอผ้า มีกิจกรรมการทอผ้าฝ้าย กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด การเดินทางเข้าหมู่บ้าน จากจังหวัดสกลนคร-อำเภอวานรนิวาส ระยะทาง 80 กม. จากอำเภอวานรนิวาสถึงหมู่บ้านขัวก่าย ระยะทาง 10 กม. วิเคราะห์หมู่บ้าน บ้านขัวก่าย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีผู้นำเข้มแข็ง ประชาชนมีความสามัคคี มีกิจกรรมของทางราชการเกือบทุกหน่วยงาน พื้นที่ของหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะเป็นแหล่งเพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ สำหรับผลิตอาหารปลอดสารพิษ ลักษณะทั่วไป – เนื้อที่ทั้งหมด 3,814 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 3,789 ไร่ – จำนวนครัวเรือน 163 ครัวเรือน – ประชากร 774 คน เป็นชาย 380 คน เป็นหญิง 394 คน ลักษณะภูมิประเทศ บ้านขัวก่าย ตั้งอยู่บนที่ราบต่ำ โดยปกติมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูหนาวและฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนตกแต่ละปีอยู่ในเกณฑ์ดี สภาพทางเศรษฐกิจ – รายได้เฉลี่ย 36,807 บาท/คน/ปี – ครัวเรือนมีการออม 80.37 % – ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนา 3,739 ไร่ คิดเป็น 98.68%ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด – ผลผลิตของชุมชน ได้แก่ ข้าว โค ผ้าทอมือง – ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน สภาพทางสังคม – บ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร เป็นระเบียบถูกสุขลักษณะ ครอบครัวอบอุ่น – ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม – เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน – คนอายุ 15 – 60 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน อาชีพ ชาวบ้านกลางประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ทำนา เลี้ยงสัตว์และบางส่วนทอผ้าและเย็บผ้า ศาสนา ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ 100 %มีวัดโพธิ์ชัย และวัดป่าขัวก่าย เป็นที่รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

รูปภาพ





check_circle ประวัติจัดตั้ง อบต.
ประวัติจัดตั้ง อบต.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่มาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล และให้โอนบรรดางบประมาณทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงให้สภาตำบลต่อไปนี้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบ โดยให้มีชื่อตามตำบลที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นตั้งอยู่ คือ (1)...(2637) (2638) สภาตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย" (2639)...(3637) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าวมีเขตตามเขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ยกเว้นส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลที่มีอยู่ในตำบลนั้น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลใด ให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าฝ่ายบริหารของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันวินิจฉัย ทั้งนี้ ให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 เสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตราประจำกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


ตราประจำองค์การบริหารส่วนตำบลขัวก่าย


ความหมายของตรา อบต.
ท่อนซุงหรือท่อนไม้ แสดงถึง ที่มาของชื่อตำบลขัวก่าย โดย คำว่า "ขัว" เป็นภาษาอีสานที่ แปลว่า การนำท่อนซุงหรือท่อนไม้วางพาดเพื่อข้ามลำน้ำ และคำว่า "ก่าย" เป็นคำกริยาบรรยายลักษณะท่อนซุงหรือท่อนไม้ที่พาดไว้ เมื่อสองคำรวมกันคือว่าว่า "ขัวก่าย" ซึ่งก็คือ สะพานข้ามลำน้ำนั้นเอง หนองน้ำ แสดงถึง "หนองสิม" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่อุดม สมบูรณ์ เป็นแหล่งทำมาหากินและเป็นอาหารของคนในชุมชน ดอกบัว แสดงถึง คนในชุมชนศรัทธาและนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาเดียว เป็นแหล่งอารยธรรม ทุ่งนา แสดงถึง อาชีพหลักของคนในชุมชม ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรม


check_circle สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

info_outline วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งเกษตรปลอดภัย ก้าวไกลสู่นวัตกรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง” พันธกิจ 1. จัดให้มีการปรับปรุงถนน ทางระบายน้ำ น้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร 2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ 3. บำรุงส่งเสริมสนับสนุนการนำสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า 4. ส่งเสริมการจัดการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน 5. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรอย่างพอเพียง และพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรสู่ความมั่นและยั่งยืน 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แนวทางที่ 1 อนุรักษ์ฟื้นฟู ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางที่ 2 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนในตำบลให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับอาเซียน แนวทางที่ 3 มีการพัฒนานวัตกรรมการค้า การลงทุนในตำบลที่มีศักยภาพสูงสู่อาเซียน 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน แนวทางที่ 1 การจัดการศึกษา และการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา แนวทางที่ 2 การส่งเสริมกีฬา และนันทนาการ แนวทางที่ 3 การสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการ และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรี เด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ยากจน แนวทางที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันควบคุมโรค แนวทางที่ 5 ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางที่ 6 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครอบครัว ชุมชน และสังคมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน แนวทางที่ 1 อนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ควบคู่การส่งเสริมสนับสนุนปลูกป่าไม้เศรษฐกิจชุมชน แนวทางที่ 2 มีพื้นที่ลุ่มน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 5. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางที่ 1 ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม แหล่งระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปโภค แนวทางที่ 2 มีการรักษาความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แนวทางที่ 3 มีการบริการประชาชนอย่างประทับใจ แนวทางที่ 4 การแก้ไขปัญหายาเสพติด การทุจริต การคอรัปชั่น แนวทางที่ 5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางที่ 6 การส่งเสริมประชาธิปไตย และกระบวนการประชาคม แนวทางที่ 7 การพัฒนาองค์กรและบุคลากร แนวทางที่ 8 การจัดหาและพัฒนารายได้ แนวทางที่ 9 การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับ อปท.ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่น แนวทางที่ 10 มีการเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และสร้างความสมานฉันท์ปรองดองในหมู่ประชาชน แนวทางที่ 11 มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมภิบาลในการบริหารงานแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา

check_circle ประเพณีวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณี มีประเพณีเหมือนชาวอิสานทั่วไป ซึ่งยังปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ -บุญขึ้นปีใหม่ -บุญสงกรานต์ -บุญประทายข้าวเปลือก -บุญเข้าพรรษา -บุญข้าวสาก -บุญข้าวประดับดิน -บุญออกพรรษา -บุญกฐิน

check_circle ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ชาวบ้านขัวก่าย จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เด่นๆ ได้แก่ กลุ่มทอผ้า มีกิจกรรมการทอผ้าฝ้าย กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด

รูปภาพ



check_circle สถานที่ท่องเที่ยว